
1. เปิดมือถือ/แท็บเล็ตให้ลูกดู ตอนกินข้าว ช่วยให้ลูกอยู่นิ่งและกินได้เยอะ

2. ออกนอกบ้าน เปิดมือถือ/แท็บเล็ตให้ลูกดู กลัวลูกเบื่อ งอแง และอยู่ไม่นิ่ง

3. ใช้มือถือ/แท็บเล็ต เปิดคลิฟให้ลูกดู ลูกจะฉลาด อยู่นิ่ง และไม่ซน

ใครเคยมีปัญหาแบบนี้บ้าง…
ลูกไม่ยอมทานข้าวเลยใช้ การเปิดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือ โทรทัศน์ ให้ลูกดูแล้วฉวยโอกาสป้อนข้าวใส่ปากให้ลูก หรือเวลาไปกินข้าวนอกบ้านลูกก็งอแงไม่ยอมกิน กรีดร้องไม่รู้จะทำยังไง คนข้างนอกก็มอง ก็เลยใช้มือถือเป็นตัวช่วย
พ่อแม่อยากออกไปซื้อของ ไปเดินห้างหรือขับรถไปเที่ยวไกลๆ เห็นลูกนั่งรถนานๆ กลัวลูกเบื่อ งอแง เปิดคลิปให้ลูกดูไปเรื่อยๆ ตลอดทาง อยู่บ้านไม่รู้จะเล่นอะไรกับลูก คุณพ่อคุณแม่ก็เหนื่อยอยากพักร่างบ้าง ก็เลยใช้มือถือ แท็บเล็ตเป็นทางออก หรือถ้าบ้านไหนเคยทำ กำลังทำ หรือกำลังคิดจะทำ หยุดก่อนค่ะ หยุดเลย เพราะ 3 พฤติกรรมนี้จะนำพาให้ลูกเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้น รวมไปถึงบกพร่องทั้งพัฒนาการและสุขภาพร่างกายด้วย
การให้เด็ก ๆ อยู่กับหน้าจอนานๆ แม้จะทำให้เด็กๆนั่งนิ่งได้ ยอมทานข้าวได้มากขึ้น ไม่ดื้อ ไม่ซน ไม่งอแงแต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง อาจส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กๆได้อย่างมาก โดยเฉพาะเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมาธิสั้นจากข้อมูลทางการแพทย์ สมาร์ทโฟนมีส่วนกระตุ้นให้เด็กที่เป็นสมาธิสั้นมากขึ้นๆ เนื่องจากเมื่อเล่นไปนาน ๆทำให้เด็กขาดสมาธิและการควบคุมตนเอง อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และหากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ก่อนแล้ว อาการจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น อาทิ ใจร้อน วู่วาม อารมณ์ฉุนเฉียว ขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่รู้จักการรอคอย เป็นต้น
นอกจากสมาธิสั้น ยังมีผลเสียที่ตามมาอีกนับไม่ถ้วน จอประสาทตาเสื่อม พูดช้า พัฒนาการช้า บุกลิกไม่ดี ยิ่งไปกว่านั้นหากลูกเกิดติดมือถือจนกลายเป็นโรคเสพติด ยิ่งไม่คุ้มค่าเลยนะคะกับเงินไม่กี่หมื่นที่ซื้อแท็บเล็ตหรือมือถือมาแลกกับการต้องมารักษาโรคและปรับพฤติกรรมของลูก ซึ่งทางออกคือพ่อแม่ควร ให้ลูกรู้จักความหิว ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง ไม่สร้างเงื่อนไขด้วยมือถือ แต่ให้เป็นรางวัลอย่างอื่นหรือกิจกรรมที่ลูกชอบแทน เวลาไปทานข้าวนอกบ้านหรือเดินทางไปไกลๆ ควรเตรียมอุปกรณ์กระดาษ สี ดินสอ หรือหนังสือเพื่อเบี่ยงเบนและโน้มน้าวลูก แทนการใช้มือถือ จัดเวลาทำกิจกรรมให้เหมาะสม บอกลูกว่ากำลังจะไปทำอะไร ที่ไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ เพื่อให้ลูกเข้าใจสถานการณ์และไม่สร้างเงื่อนไข คุณพ่อคุณแม่จัดเวลาทำกิจกรรมแทนการดูมือถือและนำพาลูกให้ทำร่วมกันได้แก่ การเล่นกีฬา เล่นดนตรี ช่วงอายุที่เด็กสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้นั้น ดีที่สุดคือที่ช่วงอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ต้องควบคุมระยะเวลา ในการใช้งานคือ ครั้งละไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้ไม่ส่งผลเสียต่อพัฒนาการการเรียนรู้และการเข้าสังคมนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก :