DLTS International School

Call Us: 02 459 5695 [email protected]

LINE_ALBUM_2023.9.30 _1_231002_1

พ่อแม่แบบไหน ที่ลูกอยากเล่าอะไรให้ฟัง

ทำไมลูกไม่เล่าอะไรให้เราฟังเลยนะ ?

เวลาที่เราพูดคุยหรือเล่าอะไรให้ใครฟัง เราต้องการการรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจและไม่ตัดสิน ลูกก็ต้องการแบบนั้นค่ะ ซึ่งนั่นคือ การฟังแบบ Active Listening ต่างจากการฟังแบบ Passive Listening ที่เป็นการฟังแบบผ่าน ๆ ไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจน และมีการตอบสนองที่ไม่รอบคอบ

เรามาสำรวจตัวเองกันนะคะ ว่าเราเป็นพ่อแม่ที่เป็นผู้ฟังแบบไหนให้กับลูก

ยกตัวอย่าง สถานการณ์ที่ลูกมาเล่าด้วยท่าที น้ำเสียงที่เสียใจ ที่เพื่อนไม่แบ่งของเล่นให้

1. เราฟังลูกด้วยท่าทีแบบไหน

Active Listening : ฟังลูกด้วยความใส่ใจ หยุดทุกกิจกรรมที่ทำอยู่ มองหน้า สบตา และสัมผัสลูก

Passive Listening : ทำกิจกรรมอื่น ไม่มองหน้า ไม่สบตาลูก ไม่สัมผัสลูก

2. เราการตอบสนองการเล่าของลูกอย่างไร

Active Listening :  แสดงความเข้าใจสถานการณ์ด้วยการทวนคำพูดของลูก เช่น   “เพื่อนไม่แบ่งของเล่นให้หนูเหรอคะ”

Passive Listening : ตอบสนองอย่างรวดเร็ว ไม่รอบคอบ “แล้วหนูจะไปแย่งเพื่อนเล่นทำไมล่ะ” หรือพูดตัดบทเพื่อให้จบเรื่อง เช่น  “อืม  เดี๋ยววันหลังเพื่อนก็แบ่งเองนะ”

3. เรารับรู้ความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของลูก หรือไม่

Active Listening : รับรู้ถึงความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของลูก   “แม่รู้สึกว่าหนูเสียใจที่เพื่อนไม่แบ่งของเล่นให้” และช่วยให้ลูกได้ทบทวนความรู้สึกของตัวเองด้วยด้วยคำถาม เช่น “ทำไมลูกถึงเสียใจที่เพื่อนไม่แบ่งของเล่นให้” หรือ “ลูกคิดว่าจะทำยังไงให้เพื่อนแบ่งของเล่นให้”

Passive Listening : ไม่รับรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของลูก เช่น “ไม่เห็นแปลกเลย เด็ก ๆ ก็อย่างนี้แหละ” หรือ  ตัดสินความรู้สึกของลูก   “ไม่เห็นเป็นไรเลย หนูก็เล่นอย่างอื่นสิคะ”

แน่นอนว่า การฟังแบบ Active Listening จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ใส่ใจและเข้าใจมากกว่า ทำให้ลูกมั่นใจที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น ไม่เพียงแค่ความเข้าใจกันที่มากขึ้น แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนให้อีกด้วยค่ะ

รู้เทคนิคการฟังลูกไปแล้ว ลองไปปรับใช้นะคะ

แล้วเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวลูก

เพราะเมื่อพ่อแม่เปลี่ยน ลูกก็จะเปลี่ยนด้วย

ขอให้สนุกและมีความสุขกับการรับฟังลูกค่ะ